วันพุธที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

หน่วยแสดงผล (output Unit )

               จอภาพ (Monitor)  เป็นอุปกรณ์แสดงผลที่คนนิยมใช้  เพื่อแสดงผลลัพธ์ของข้อมูล ในรูปแบบของข้อความ รูปภาพ กราฟิกหรือวีดีโอ  จอภาพแสดงผลมีอยู่ด้วยกันหลายชนิด คือ



จอภาพแบบซีอาร์ที (Cathode Ray Tube: CRT Monitor)

                จอภาพซีอาร์ที  เป็นจอภาพที่รับสัญญาณภาพแบบแอนะล็อก การทำงานจะใช้หลอดแก้วแสดงผลขนาดใหญ่ที่เรียกว่า หลอดรังสีคาโธด (Cathode ray tube) สร้างภาพด้วยการฉายแสงอิเลคตรอนไปยังด้านหลังของจอภาพ  ซึ่งมีสารฟอสฟอรัสเคลือบอยู่  โดยสารนี้จะส่องสว่างเมื่อถูกแสงอิเลคตรอนตกกระทบ จึงทำให้เกิดภาพ แต่งเนื่องจากสาร
                 ฟอสฟอรัสไม่สามารถส่องสว่างได้เป็นเวลานาน  จึงจำเป็นต้องมีการฉายแสงใหม่ทุกระยะ ซึ่งเรียกว่าการรีเฟรซ  โดยอัตราการรีเฟรซนั้นหมายถึง ความเร็วในการยิงอิเลคตรอนที่ทำให้เกิดจุดเรีองแสงขึ้นบนจอภาพ  จุดดังกล่าวจะหายไปในเวลาไม่นาน  จึงจำเป็นต้องมีการยิงแสงอิเลคตรอนซ้ำที่จุดเดิมตลอดเวลา  ถ้าอัตราการยิงแสงเชื่องช้า ภาพก็จะกระตุก ส่งผลต่อสายตา จำเป็นต้องปรับอัตราการรีเฟรซ ให้เหมาะสม ซึ่งเป็นเทคโนโลยีเดียวกับหลอดภาพโทรทัศน์  และตัวจอภาพก็มีลักษณะเหมือนจอภาพโทรทัศน์  จำเป็นต้องใช้พลังงานไฟฟ้าสูงซึ่งมีผลให้เกิดความร้อนเมื่อใช้งานนาน ๆ แต่ข้อดีก็คือ ราคาถูก ไม่มีปัญหาจากการมองบางมุม

 จอภาพแบบแอลซีดี  (Liquid  Crystal  Display : LCD  Monitor)

     ใช้หลักการปรับเปลี่ยนโมเลกุลของผลึกเหลว เพื่อปิดกั้นแสงเมื่อมีสนามไฟฟ้าเหนี่ยวนำแอลซีดีจึงใช้กำลังไฟฟ้าต่ำ เหมาะกับภาคแสดงผลที่ใช้กับแบตเตอรี่หรือถ่านไฟฉายก้อนเล็ก ๆ แอลซีดีในยุคแรกตอบสนองต่อสัญญาณไฟฟ้าช้า จึงเหมาะ กับงานแสดงผลตัวเลขยังไม่เหมาะที่จะนำมาทำเป็นจอภาพ
      เมื่อเทคโนโลยีก้าวหน้าขึ้น  จอภาพแอลซีดีที่แสดงผลเป็นสีต้องใช้เทคโนโลยีสูง มีการสร้างทรานซิสเตอร์  เป็นล้านตัวเพื่อให้ควบคุมจุดสีบนแผ่นฟิล์มบาง ๆ ให้จุดสีเป็นตารางสี่เหลี่ยมเล็ก ๆ การแสดงผลจึงเป็นการแสดงจุดสีเล็ก ๆ ที่ผสมกันเป็นสีต่าง  ๆ ได้มากมาย การวางตัวของจุดสีดำเล็ก ๆ เรียกว่าแมทริกซ์ (matrix) จอภาพแอลซีดีจึงเป็นจอแสดงผลแบบตารางสี่เหลี่ยมเล็ก ๆ ที่มีจุดสีจำนวนมาก 

      จอภาพแอลซีดีเริ่มพัฒนามาจากเทคโนโลยีแบบพาสซีฟแมทริกซ์ที่ใช้เพียงแรงดันไฟฟ้าควบคุมการปิดเปิดแสงให้สะท้อนจุดสีมาเป็นแบบแอกตีฟแมทริกซ์ที่ใช้ทรานซิสเตอร์ตัวเล็ก ๆ เท่าจำนวนจุดสี ควบคุมการปิดเปิดจุดสีเพื่อให้แสงสะท้อนออกมาตามจุดที่ต้องการ ข้อเด่นของ แอกตีฟแมทริกซ์คือมีมุมมองที่กว้างกว่าเดิมมาก การมองด้านข้างก็ยังเห็นภาพอย่างชัดเจน จอภาพแอลซีดีแบบแอกตีฟแมทริกซ์มีแนวโน้มที่เข้า มาแข่งขันกับจอภาพแบบซีอาร์ทีได้ จอภาพแบบแอลซีดีซึ่งมีลักษณะแบนราบจะมีขนาดเล็กและบาง เมื่อเปรียบเทียบกับจอภาพแบบซีแอลที






ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น